วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เชื้อเพลิงสาหร่าย (Algae fuel) (藻类燃料)

ผลิตนํ้ามันจากสาหร่ายทางเลือกในอนาคต พลังงานทางเลือกเพื่อใช้ทดแทนนํ้ามันได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงพลังงานจากพืช ในปัจจุบันการผลิตพลังงานจากพืช มักจะพบปัญหาการขัดแย้งด้านวัตถุดิบ เนื่องจากพืชที่ใช้สกัดเป็นนํ้ามันเชื้อเพลิง เช่น ข้าวโพด และ ปาล์มนํ้ามัน เป็นชนิดเดียวกับพืชที่ใช้บริโภค อีกทั้งต้องใช้พื้นที่ในการเพาะปลูกมากและใช้ระยะเวลานานในการเจริญเติบโต จากการวิจัยพบว่า สาหร่ายเป็นพืชที่มีปริมาณนํ้ามันและสารอินทรีย์ไฮโดรคาร์บอนเหมาะสมที่จะผลิตเป็นพลังงานได้ สามารถให้พลังงานมากกว่า 6-12 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับพืชชนิดอื่น เช่นข้าวโพดหรือหญ้าสวิชกล๊าส (Switchgrass) และใช้เวลาในการเจริญเติบโตน้อยกว่า สาหร่ายจึงเป็นอีกทางเลือกในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ เพื่อลดปริมาณการพึ่งพานํ้ามันในอนาคต

ทำไมต้องสาหร่าย  (为什么海藻?)
    สาหร่ายขนาดเล็กเป็นพืชที่ให้นํ้ามันมากที่สุด เมื่อเทียบกับพืชนํ้ามันชนิดอื่น โดยสามารถผลิตนํ้ามันได้ 100,000 ตัน ต่อ พื้นที่เพาะปลูกเพียง 1,500 ไร่ (240 เฮกเตอร์) การเพาะเลี้ยงสาหร่ายทำได้ไม่ยาก อีกทั้งยังเติบโตเร็ว สามารถเพาะเลี้ยงได้ใน นํ้าทุกสภาวะ เช่น ทะเลสาบ หนอง บึง บ่อเปิด ถังหมัก หรือหน่วยปฏิกรณ์แสงแดดเป็นต้น แตกต่างจากพืชอื่นๆ ที่สามารถ เจริญเติบโตในสระที่เปิดและให้อากาศผ่านได้เท่านั้น สาหร่ายจะเจริญเติบโตได้ดีหากมีการควบคุม แสง ธาตุอาหาร อุณหภูมิ การหมนุเวียนของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซออกซิเจน รวมถึงการจัดพื้น รองรับการเติบโต ให้เหมาะสมซึ่งนํ้ามันที่ได้จากสาหร่ายสามารถนำมาใช้ทดแทนเชื้อเพลิงจากฟอสซิลได้ อีกทั้งไม่มีซัลเฟอร์เป็นองค์ประกอบ จึงไม่เป็นพิษ และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

    การสกัดนํ้ามันจากสาหร่ายสามารถทำได้หลายวิธี อาทิ การบีบอัดเพื่อให้คลายนํ้ามัน (Expeller/ Press) การใช้เฮกเซน
เป็นตัวทำละลายนํ้ามัน (Hexane Solvent Method) การใช้เอ็นไซม์ย่อยผนังเซลล์เพื่อให้นํ้ามันหลุดออกมา (Enzymatic
Extraction) การใช้อุลตราโซนิกกระตุ้นให้เกิดการสั่นจนนํ้ามันหลุดออกมา (Ultrasonic-assisted Extraction) และการใช้
เทคนิกออสโมซิสโดยอาศัยความต่างของความดัน (Osmotic Shock)
หลังจากผ่านกระบวนการสกัดข้างต้น นํ้ามันที่ได้มาจะถูกนำไปผ่านกระบวนการทางเคมี เพื่อผลิตเป็นนํ้ามันไบโอดีเซล และนํ้ามันเครื่องบินชีวภาพ (Bio-jet) ส่วนกากสาหร่ายซึ่งเป็นผลพลอยได้จากขั้นตอนการสกัดนํ้ามัน ก็สามารถนำไปใช้เป็น


5 ความคิดเห็น: